วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556

แหล่งตกปลาที่น่าสนใจในภาคตะวันออก

  1.แสมสาร  จ. ชลบุรี  อ. สัตหีบ 


2. เกาะช้าง  จ. ตราด

3. หลักแก๊ส  จ. จันทบุรี


วีดีโอตกปลาที่ หลักแก๊ส






การรักษาอุปกรณ์


การรักษาอุปกรณ์
นับว่ามีความสำคัญที่สุดสำหรับนักตกปลา ที่ควรศึกษาและใส่ใจกับอุปกรณ์ที่ท่านรัก เพราะเท่าที่รับซ่อมอุปกรณ์เหล่านี้ ส่วนใหญ่จะ
เสียหายจากการ ขาดการบำรุงรักษา เมื่อนำไปใช้งานแล้ว เย่อปลา อัดปลา จะส่งผลให้ อุปกรณ์เสียหายทันที ซึ่งเหตุการณ์บางเหตุการณ์อาจต้องสูญเสีย
อุปกรณ์ที่ท่านรัก หมดทางเยียวยาไปทันที แต่ผู้เขียนเองมีประสบการณ์เกี่ยวกับรอกแบบ สปินนิ่ง ตัวขนาดเล็ก และขนาดกลาง เท่านั้น สำหรับรอก เบท
และรอกตัวใหญ่ ๆ ยังขากประสบการณ์ จึงไม่ได้นำมาอ้างในที่นี้

ใช้แล้วทิ้ง จับอีกทีเมื่อจะออกทริฟ
ลักษณะนี้ คือเมื่อกลับจากการตกปลาแล้ว ก็เก็บอุปกรณ์ทันที ไม่ได้ทำความสะอาด รอก และคันเลย ผลหรือครับ
1. มีคราบเหยื่อติดเป็นแห่ง ๆ เป็นเหยื่อล่อ มด แมลงสาบ ไป็นอย่างดี แล้ว อุปกรณ์นั้นก็เก่าและทรุดโทรมในที่สุด
2. รอกมีเศษทรายเล็ก ๆ หลุดเข้าไปในผ้าเบรค ผลคือประสิทธิภาพต่าง ๆ ลดลง แล้วท่านก็ไปโทษว่า อุปกรณ์ยี่ห้อนั้น ยี่ห้อนี้ไม่ดี
    ซึ่งรอกตกปลา บางยี่ห้อ คุณภาพและราคา พอ ๆ กัน แต่การบำรุงรักษาต่างกัน เช่น BG ของ ไดว่า เทียบกับ SHIMANO ultregra คุณภาพ พอกัน
    แต่ SHIMANO  ต้องการการบำรุงรักษามากกว่า ต้องทะนุถนอมพอสมควร จึงเป็นรอกผู้ดี แต่ รอก BG ของไดว่า ไม่จำเป็นบำรุงรักษามากนัก
   จึงเป็นประเภท บึกบึน ดุดัน มากก‡่า

การบำรุงรักษารอก
ผมจะเปรียบการรักษา BG ของไดว่าดังนี้
1. ต้องหมั่นตรวจวงแหวนทองแดงครึ่งวงกลม ที่ล็อค สปูน บ่อยครั้ง ท่านจะไม่ประสบปัญหา สปูนตกน้ำ 
 2. ล้างเบรคในเวลาอันควร  ขึ้นอยู่กับท่านออกทริฟ บ่อยขนาดไหน หรือเมื่อท่านตกปลาท่ามกลางสายฝน ต้องรีบล้างทันทีเมื่อกลับถึงบ้าน

และสำหรับ บูชพลาสติก บริเวณแขนของมือหมุน ถ้าผู้ผลิต เปลี่ยนเป็นโลหะ จะเป็นการดี เพราะจะแตกทุกตัวเมื่อใช้งาน คือเกลียวมันจะอัดเข้าเอง   โดยอัตโนมัติ เมื่อท่านเย่อปลา
ก็เท่านี้แหละครับ สำหรับรอก BG ที่เค้าว่า ใครฆ่าไม่ตาย

สำหรับ SHIMANO ULTREGRA มีการบำรุงรักษาดังนี้
1. ต้องตรวจสกรูทุกตัวเมื่อจะออกทริฟ เพราะเคยเจอ สกรูคายตัวเองโดยไม่ทราบสาเหตุ
2. ล้างเบรคบ่อยครั้ง
3 .ตรวจมือหมุนทุกครั้งที่ออกทริฟ อาจหลุดตกน้ำ

เห็นไหมครับว่า shimano ต้องรักษามากกว่า แต่การใช้งาน จะคล่องตัวมากกว่า เบากว่า และให้ความรู้สึกนุ่มนวลมาก
นี่เป็นเพียงการยกตัวอย่างให้เห็นว่า รอกแต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อ การบำรุงรักษาแตกกต่างกัน แต่ ยังไงก็ต้องหมั่นตรวจ ล้างเหมือนกัน

ผมจะแนะนำการบำรุงรักษารอกแบบมือสมัครเล่นให้นะครับ
1. ล้างรอกทันที่เมื่อหมดททิฟ (ล้างภายนอกนะครับ)
2. คายเบรคออกทุกครั้งที่จะเก็บรอก
3.ตรวจดูโรลเล่อร์ว่าหมุนเป็นปกติไหม
4. เลือกใช้สายเอ็น ให้พอดีกับ สเปค ของรอกนั้น ๆ หลีกเลี่ยงสายโหลด และสายที่มีขนาดปอนด์สูงเกินไป

แค่นี้เองครับ ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก หากทำได้รับรอง รอกของท่านจะไม่เสียหายก่อนเวลาอันควร

คันเบ็ด
รักษาโดยล้าง ทั้งคันเมื่อเลิกใช้งาน และตรวจดูทิฟท็อป ว่าเป็นร่องหรือไม่ หากเป็นร่อง ให้เปลี่ยนทันที วิธีเปลี่ยนก็ให้ไฟแช็ค ลนที่
ปลายไกด์ ให้ร้อน แล้วดึงออก ตรง ๆ (อย่าบิด เด็ดขาด) แล้วเอาตัวใหม่ใส่โดยใช้กาวตราช้าง อย่าลืมเล็งให้ตรงก่อนนะ

สายเอ็น
1.ตรวจดูสายเอ็นช่วงปลาย ประมาณ 3-5 เมตร หากพบว่า มีรอย ให้ตัดทิ้ง ทันที  อย่าเสียดาย ไม่งั้นท่านเสียใจมากกว่าเมื่อเย่อปลาแล้ว ขาด
2. หากทำได้ โดยการคายสายเอ็นออกจากสปูนทุกครั้งที่เลิกใช้งานจะเป็นการดีมาก (แต่ยากที่จะมีใครทำ ฮ่า ๆ )
3. ใช้ผ้าชุบน้ำ เช็ดสายเอ็นทันทีเมื่อท่านตกปลาในแหล่งน้ำที่มีคราบ สกปรกมาก ๆ

รอกที่ควรรู้การรักษาเพื่อให้ใช้งานได้นาน และดี
1. ตระกูล BG ไดว่า ต้องหมั่นตรวจวงแหวนทองแดงครึ่งวงกลม ที่ล็อค สปูน บ่อยครั้ง ท่านจะไม่ประสบปัญหา สปูนตกน้ำ 
2. ตระกูล SHIMANO ต้องหมั่นตรวจสกรูทุกตัว
3. ตระกูล TICA  (LH, GH) หมั่นถอดล้าง เพราะอาจเกิดอาการไม่ล็อคการตีกลับ และต้องใช้จารบีทาที่แผ่นเบรทันทีที่ซื้อมา จะป้องกันเบรคสะดุ
4. ตระกูล BANDO BANAX (BG) หมั่นตรวจโรลเล่อร์ อาจไม่หมุนทำให้สายบาด เป็นรอย

สำหรับยี่ห้ออื่น ๆ  ก็พยายามหมั่นตรวจดู เพราะทางผู้เขียนคงเขียนให้ได้ไม่หมดครับ

วันเสาร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2556

การเลือกรอก-คัน



ข้อมูลที่ใช้ในการประกอบการตัดสินใจซื้ออุปกรณ์คือ 
     1. เราเจตนาหรือตั้งใจที่จะตกปลาในแหล่งน้ำใด  จะเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติหรือตามบ่อตกปลา 
     2. เจตนาหรือตั้งใจจะตกปลาประเภทใด เพราะปลาแต่ละชนิดจะมีขนาดและความแข็งแรงไม่เท่ากัน เช่นอุปกรณ์สำหรับปลานิล ก็ย่อมต่างจากอุปกรณ์สำหรับปลาบึก  
     3. เรามีงบประมาณหรือเงินทุนเพื่อซื้ออุปกรณ์เท่าใด  
  

การเลือกซื้ออุปกรณ์สปินนิ่ง

การเลือกรอกสปินนิ่ง


หลอดเก็บสาย
ควรเลือกชนิดทำด้วยวัสดุแกรไฟต์ ถ้าต้องการน้ำหนักเบาและไม่เป็นสนิม แต่ถ้าชอบแบบอลูมินั่มควรเลือกชนิดเนื้อดีซึ่ง จะม ีความบางเบาและชุบสีต่างๆ ติดแน่าน อย่าเลือกชนิดพ่นสีและไม่ควรเลือกชนิดทำด้วยพลาสติกหรือชนิดขี้ตะกั่ว


ชิ้นส่วนบนหลอดเก็บสาย
ควรเลือกหลอดเก็บสายที่มีตัวยึดปลายสาย (Line Holder) ที่มีลักษณะแน่นหนา ติดตั้งซ่อนลงไปต่ำกว่าผิวหน้าของส่วน โค้ง

ตัวเลขบนหลอดเก็บสาย
ควรเลือกชนิดพิมพ์ติดกับเนื้อหลอดเก็บสายโดยตรงไม่ควรเลือกชนิดสติคเกอร์ปิดทับเพราะหลุดได้ง่าย

ระบบถอดหลอดเก็บสาย
ควรเลือกชนิดกดปุ่มครั้งเดียวถอดหลอดเก็บสายออกได้เลย แต่ปุ่มกดแบบนี้บางยี่ห้ออาจจะทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร จึงต้อง ระมัด ระวังในการเลือกด้วย

สัญญาณเตือน
สัญญาณเตือนเมื่อปลาติดเบ็ดถ้าติดตั้งอยู่ด้านในของหลอดเก็บสาย ควรเลือกชนิดชิ้นส่วนโลหะจะให้เสียงกว่าและไม่ แตกหักง่าย เหมือนแบบพลาสติก แต่สัญญาณเตือนดังกล่าวสำหรับรอกรุ่นใหม่ๆจะติดตั้งอยู่ภายใน ซึ่งทำได้ไม่ดีเท่ากับชนิดติดอยู่กับตัว หลอดเก็บสาย

ระบบเบรคหน้า
ควรเลือกชนิดหมุนปุ่มปรับฝืดหน่อยจะดีกว่า เพราะไม่คลายตัวง่าย หรือบางรุ่นจะมีสปริงคอยดีดไม่ให้ปุ่มปรับหลวม ขณะใช้ งาน ถ้าเลือกคู่กับระบบกดปุ่มครั้งเดียวถอดหลอดเก็บสายออกมาได้จะดีกว่าระบบคลายเกลียวถอดหลอดเก็บสายเบรคหน้าม ีแผ่นเบรค 2 แบบคือ ชนิดแผ่นเดียว (Disk Drag) ซึ่งรอกชิมาโนกับมิทเชลล์ใช้อยู่บ้างเป็นบางรุ่น และรอก เพนน์ รุ่นเล็ก เบรค แผ่นเดียวจะได้ผลดีกว่า เพราะเนื้อที่เบรคมีมากแต่ไม่ค่อยมีผู้นิยม อีกแบบหนึ่งเป็นชนิดหลายแผ่น (Multi Disk Drag) ควร เลือกชนิดแผ่นเบรคใหญ่และแผ่นเบรคมีมากแผ่น (ดูจากสมุดคู่มือของรอกแต่ละรุ่น)

ระบบเบรคท้าย
ควรเลือกชนิดหมุนได้มากกว่า 2 รอบและเป็นชนิดมีตัวเลขกำกับซึ่งจะสังเกตง่ายกว่าแบบเครื่องหมายบวก หรือลบเลือก ชนิด แผ่นเบรคมากแผ่นและมีขนาดใหญ่และควรเป็นชนิดปรับแต่งระยะเบรคได้จะดีกว่าแบบปรับไม่ได้

ระบบเบรคช่วย
ระบบนี้ยังมีใช้อยู่เพียงบางยี่ห้อ เช่นรอกชิมาโน รุ่นล่าสุดใช้ระบบเบรคช่วยซ้อนกันอยู่กับเบรคท้ายตัวเดิม เรียกว่า ไฟทิ้ง แดรก (Fightin Drag) ส่วนทางรอกมิทเชลล์ใช้ระบบเบรคช่วยด้วยการเหนี่ยวกระเดื่องหรือไกภายนอกให้ไปบังคับเบรค ภายใน เรียกว่าระบบทริคเกอร์ แดรก (Tigger Drag) ซึ่งบางยี่ห้อไดว่าเคยทำมาแล้วแต่เป็นการทำเบรคช่วยที่ตัวหลอด เก็บสายโดยตรง และยังมีระบบล็อคเบรค เมื่อต้องการตวัดปลา ของรอกไดว่ารุ่นใหญ่บางรุ่นแต่ไม่ได้เป็นการช่วยเบรค แต่อย่างใด

ระบบล็อคแขนกว้านสาย
ควรเลือกชนิดผลักเปิดและปิดได้ทั้งอัตโนมัติหรือโดยการใช้มือผลักปิด ควรเลือกระบบปลดล็อกแขนกว่านภายในดีกว่า ระบบ กระทบภายนอก ระวังระบบปลดล็อกแขนกว้านของรอกทางยุโรปบางยี่ห้อ จะปิดกลับด้วยมือไม่ได้เลยต้องปิด กลับด้วยการปลด ล็อคภายในเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ระบบปลดล๊อคแบบนี้จะช่วยป้องกันแขนกว้านดีดกลับมาปิดหน้า รอก เมื่อกำลังเหวี่ยงเหยื่อ อันเป็นเหตุให้สายเบ็ดขาดได้จากแรงกระตุกของเหยื่อ แขนกว้านสายควรเลือกชนิดเป็น สแตนเลส และมีวงสปริงช่วยดีดแขน กว้านที่โคนแขนกว้านทั้ง 2 ด้าน รอกราคาถูกจะมีสปริงดีดเพียงข้างเดียว

ลูกล้อให้สายผ่าน
ลูกล้อตัวนี้เรียกว่า ไลน์ รอลเลอร์(Line Roller) ติดตั้งอยู่ที่ชุดแขนกว้าน สายเป็นตัวรองรับให้สายผ่านเข้าออก ควรเลือก ชนิดทำ ด้วยเซรามิก หรืออะลูมินั่มออกไซด์ วงของลูกล้อควรเลือกขนาดใหญ่และหมุนได้คล่อง มีแหวนปิดหัวท้ายของ ลูกล้อ ไม่ให้เกิด ร่องกว้างจนสายตกลงไปในร่องได้

ระบบพิเศษเกี่ยวกับแขนกว้าน
รอกบางยี่ห้อจะมีระบบกลไกพิเศษที่จะพับแขนกว้านให้แนบไปกับตัวรอกได้ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการเก็บเพราะไม่กิน เนื้อที่ เช่น รอกเชคสเปียร์ หรือ มิทเชลล์ นอกจากนี้ก็มีระบบปลดล็อคแขนกว้านภายนอกโดยติดตั้งอยู่ที่ฐานด้านหนึ่งของ แขนกว้าน สายมีอยู่ในรอกมิทเชลล์

ระบบมือหมุน
ควรเลือกชนิดที่เปลี่ยนแขนมือหมุนไปอยู่ทางซ้ายและขวาด้วยการคลายเกลียวในตัวเอง ไม่ใช่แบบต้องมีสกรูขันต่าง หาก การ พับแขนกว้านควรเลือกชนิดคลายเกลียวออกมาครึ่งหนึ่งหรือขันสกรูจากด้านตรงข้ามจะดีกว่าระบบกดพับหรือมี สปริงดีดออกมา ในระบบวันทัช (ONE TOUCH) มือจับควรเลือกชนิดเป็นท่อนกลมจะจับกระชับมือกว่า

ระบบรองรับแกนพลา
ระบบรองรับแกนเพลาควรเลือกชนิดตลับลูกปืน ถ้าเลือกได้ควรเลือกชนิดตลับลูกปืน 3 ชุดหรือมากกว่านั้น รองลงไปเป็น 2 ชุด และ 1 ชุดตามลำดับ หากจะเลือกระบบรองรับแกนเพลาแบบปลอก (BUSHING) ก็ควรเลือกชนิดทำด้วยวัสดุจำ พวกแกรไฟต ์หรือเทฟล่อน(TAFLON) รอกราคาถูกจะไม่มีปลอกรองรับแกนเพลาเลย

เฟืองทดและเฟืองขับ
เฟืองทั้งคู่นี้ถ้าเป็นไปได้ควรเลือกชนิดที่ทำด้วยทองเหลือง แต่รอกส่วนมากตัวเฟืองขับ(MAIN GEAR) จะทำด้วย อะลูมินั่ม ส่วนเฟืองทด (PANION GEAR ) นั้นจึงจะทำด้วยทองเหลือง แต่จะว่าไปแล้วรอกรุ่นเก่าๆ นั้นระบบกลไก ภายในดีกว่ารอก รุ่นใหม่ๆ เสียอีก เพราะเลือกใช้วัสดุชนิดดีมาผลิต

ระบบพิเศษอื่นๆ
รอกบางยี่ห้อจะมีระบบช่วยงานบางอย่างเพิ่มมากับตัวรอก เช่น ระบบปิดเสียงสัญญาณขณะรอกทำงาน ซึ่งล็อคด้วยกล ไกชิ้น เล็กๆ อันจะเป็นตัวทำให้เกิดเสียงดังคลิ๊กๆ ตลอดเวลา เขาจึงออกแบบกลไกอีกตัวหนึ่งมาปิดเสียงคลิ๊กๆ นี้เสียแต่ รอกรุ่นใหม่ จะปิดเสียงดังกล่าวโดยเด็ดขาด ซึ่งไม่ต้องอาศัยกลไกตัวอื่นมาปิดเสียง ระบบปรับให้แขนกว้านหมุนด้านที่ มีลูกล้อเปลี่ยนสาย ให้มาอยู่ด้านบนตลอดเวลา เรียกว่าระบบ SELF CENTERING  จุดประสงค์เพื่อให้พอดีกับนิ้วชี้ของ เราที่จะยื่นลงไปเกี่ยว สาย เบ็ดได้พอดีทุกครั้ง ระบบช่วยพิเศษที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบันนี้ ก็เห็นจะได้แก่ ระบบออโต้คาสท์ (AUTO CAST) ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยลดขั้นตอนในการเลื่อนมือไปดึงสายเบ็ดขึ้นเกี่ยวด้วยนิ้วชี้ ระบบนี้ เรียกกันหลายแบบแล้วแต่ยี่ห้อ เช่น ออโต้ คาสท์ (AUTO CAST) ฟาสท์ คาสท์ (FAST CAST) ควิกคาสท์ (QUICK CAST) เป็นต้น

การเลือกคันสปินนิ่ง 


วัสดุที่ใช้ทำคันเบ็ด(ไฟเบอร์กลาส)
วัสดุที่ใช้ทำคันเบ็ดจะเป็นตัวกำหนดราคาของคันเบ็ดดโดยตรงถ้ามีงบหรือเงินทุนในการซื้อค่อนข้างจำกัดก็จำเป็นจะต้อง เลือก วัสดุจำพวกไฟเบอร์กลาส ซึ่งมีผู้นำมาผลิตคันเบ็ดกันทุกยี่ห้อ ถ้าต้องการเลือกใช้คันเบ็ดที่มีน้ำหนักเบาและมีแอค ชั่นให้เลือก หลายขนาด ก็ควรเลือกคันไฟเบอร์กลาสชนิดท่อกลวง(HOLLOW GLASS) แต่จะมีราคาแพงกว่าไฟเบอร์ กลาสชนิด ท่อตัน (SOLID GLASS) ซึ่งชนิดท่อนตันนี้จะมีน้ำหนักมากแต่แข็งแรงทนทาน ปัจจุบันคันท่อนตันไม่ค่อยมี ผู้นิยมกันเท่าใดนัก

วัสดุที่ใช้ทำคันเบ็ด(แกรไฟต์)
เป็นวัสดุที่มีราคาสูงกว่าไฟเบอร์กลาสประมาณ 2 - 3 เท่าขึ้นอยู่กับปริมาณของเนื้อแกรไฟต์จะมีผสมอยู่มากน้อยเท่า ใด ถ้าเป็น ไปได้เมื่อจะเลือกคันเบ็ดประเภททำด้วยแกรไฟต์ ควรเลือกชนิดเนื้อแท้ถึงมีแกรไฟต์ 90 - 100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งดูได้ง่ายจากราคา ที่ผิดกับจำพวกแกรไฟต์เนื้อผสม 2 - 3 เท่าเช่นกัน คันเบ็ดแกรไฟต์ชนิดเนื้อผสมหรือ คอมดพซิท แกรไฟต์ (COMPOSITE GRAPHITE) จะมีคุณค่าต่ำกว่าคันเบ็ดไฟเบอร์กลาสเสียอีก ซึ่งผู้ผลิตจะใช้ชื่อแกรไฟต์มา เป็นตัวอ้างเท่านั้นโดยใช้ชื่อแปลกเช่น COMP GRAPHITE บ้าง ADVANCE GRAPHITE บ้าง เพราะบางครั้งแกร ไฟต์เนื้อผสมจะมีค่า GRT (GRAPHITE RATING TEST) เท่ากับ 2 ก็มีคือ มีเนื้อแกรไฟต์อยู่น้อยมากแต่บางรุ่นร้าย ยิ่งไปกว่าคือมีค่า GRT เท่ากับ 0 ก็คือไม่เนื้อแกรไฟต์ผสมอยู่เลยแม้แต่น้อย

วัสดุที่ใช้ทำคันเบ็ด(โบรอน)
คันเบ็ดที่มีเนื้อทำด้วยวัสดุโบรอนจะมีราคาสูงกว่าคันเบ็ดประเภทแกรไฟต์ขึ้นไปอีก 1 ขึ้น คันเบ็ดโบรอนก็เช่นกันเมื่อ จะเลือกซื้อ ควรเลือกจากยี่ห้อที่เชื่อถือได้ว่าเป็นผู้ผลิตคันเบ็ดรายใหญ่ๆ ที่มีชื่อเสียงจะได้ไม่ผิดหวัง

วัสดุที่ใช้ทำคันเบ็ด(ไม้ไผ่)
คันเบ็ดประเภทที่ทำด้วยไม้ไผ่ที่มีอยู่ในปัจจุบันก็คงมีเฉพาะคันฟลายเท่านั้น ในสภาพภูมิอากาศแบบบ้านเราไม่อำนวย ให้ใช้คัน ไผ่ได้ดีเท่าไรนัก เพราะความชื้น ความร้อน และแมลงจำพวกตัวมอด อีกทั้งราคาที่แพงเกือบเท่าวัสดุจำพวก แกรไฟต์หรือโบรอน

จำนวนท่อนคันเบ็ด
ถ้าเป็นไปได้ควรเลือกคันเบ็ดชนิดท่อนเดียว เพื่อความรู้สึกในการใช้งานและความแข็งแรงของตัวคันเบ็ด แต่ก็จะไป ลำบากตรง ที่เกะกะ ดังนั้นคันเบ็ดชนิด 2 ท่อน จึงเหมาะที่สุด ไม่ควรเลือกคันเบ็ดที่มีจำนวนท่อนมาก หรือคันเบ็ดประเภทเสาอากาศ (TELESCOPIC) นอกจากจะคิดนำติดตัวไปได้ง่านหน่อย

ประเภทรอยต่อ
ควรเลือกการต่อระหว่างท่อนด้วยการสวมลงมาดีกว่าการสอดขึ้นไป และควรเลือกข้อต่อแบบเนื้อเดิมดีกว่าข้อต่อ โลหะ

ไกด์
คันเบ็ดที่มีไกด์ต่างชนิดกันจะมีราคาต่างกันไปด้วยโดยขึ้นอยู่กับวัสดุที่นำมาทำไกด์

ไกด์ทองเหลืองชุบ
ไกด์ชนิดนี้มักประกอบอยู่กับรอกราคาถูกมีโอกาสที่โลหะซึ่งชุบอยู่ (โครเมียม) เป็นสนิมและร่อนหลุดได้

ไกด์สแตนเลส
นิยมใช้กันอยู่ทางด้านยุโรป มีราคาถูกเช่นกัน ปัจจุบันไม่นิยมใช้กันแล้ว

ไกด์เซรามิค
ไกด์ชนิดนี้เป็นกระเบื้องเคลือบสีขาวอยู่ภายใน ภายนอกยังคงเป็นโลหะทองเหลืองชุบหุ้มอยู่ ไกด์ชนิดราคาถูกเช่นกัน ใชั กันอย่างแพร่หลายมากในกลุ่มของคันเบ็ดราคาถูกและราคาปานกลาง

ไกด์อะลูมินั่มออกไซด์
วัสดุชนิดนี้เป็นการพัฒนามาอีกขั้นหนึ่ง มีเนื้อแน่นและแกร่งเหมือนกับเนื้อพลอย ทนการเสียดสีได้ดีกว่าวัสดุจำพวก เซรามิค แต่มีราคาแพงกว่าเซรามิค 2 - 3 เท่า ใช้กับคันเบ็ดที่มีราคาปานกลางถึงราคาสูง เนื้อเป็นสีเขียวทึบ โครงสร้าง ภายนอกเป็นทอง เหลืองนิยมชุบสีดำหรือสีทึบ โดยมีแหวนรองระหว่างเนื้ออะลูมินั่มออกไซด์กับตัวโครงสร้างเป็นพลา สติกหลายๆ สี เช่นขาว เหลือง แดง เป็นต้น

ไกด์ซิลิคอนคาร์ไบด์
เป็นวัสดุชิ้นล่าสุดที่นำมาทำเป็นวงแหวนด้านในของไกด์ มีเนื้อสีเกือบดำและเหลือบคล้ายปีกแมลงทับ เนื้อแกร่งและผิว นอกราบ เรียบยิ่งกว่าอะลูมินั่มออกไซด์และมีราคาแพงกว่าเท่าตัว ส่วนมากจะประกอบกับคันเบ็ดราคาแพงเท่านั้น โครงสร้างภายนอก เหมือนกับไกด์ชนิดอะลูมินั่มออกไซด์ทุกประการ แต่การเคลือบจะนิยมเคลือบสีเทาด้านๆ

จำนวนตัวไกด์และขนาด
คันเบ็ดสปินนิ่งแม้ว่าจะไม่มีปัญหาเรื่องจำนวนตัวไกด์เท่าใดนักแต่ก็ควรเลือกชนิดมีตัวไกด์เท่าใดนักแต่ก็ควรเลือกชนิด มีตัวไกด ์ไม่น้อยกว่า 5 ตัว (ไม่นับตัวปลาย)ส่วนขนาดของไกด์นั้นตัวท้ายสุดควรมีขนาดตามความยาวของคันเบ็ด

มือจับและด้าม
เน้นที่ตัววัสดุซึ่งนำมาผลิต ในบ้านเรานั้นวัสดุที่เหมาะสมก็ควรเลือกยางนีโอพรีน เพราะทนทานกว่าไม้ก๊อกอยู่บ้างแต่ ทั้งนี้ต้อง ขึ้นอยู่กับยี่ห้อคันเบ็ดด้วย เพราะทางด้านอเมริกาหรือยุโรปนั้นคันเบ็ดราคาแพงนิยมใช้ไม้ก๊อกทำมือจับและ ด้ามมากกว่ายางนีโอพรีน

ตัวยึดฐานรอก
ปัจจุบันตัวยึดฐานรอกได้ปรับปรุงให้ดีขึ้นมาก ถ้าเป็นไปได้ควรเลือกชนิดโครงสร้าง แกรไฟต์ตัวโลหะยึดขารอกเป็น สแตนเลส เท่าที่มีอยู่ในปัจจุบันคือยี่ห้อฟูจ(FUJI)ิและ เฟนวิค(FENWICK) แต่ถ้าต้องเลือกชนิดโลหะทองเหลืองชุบ หรืออะลูมิเนียมชุบสี ควรเลือกแบบมีวงแหวนล็อค 2 วง และเลือกชนิดขันลงมาจากตอนบนจะช่วยไม่ให้แหวนล็อค คลายตัวขณะเหวี่ยงเหยื่อ

ส่วนประกอบอื่นๆ
ที่พักตัวเบ็ด(HOOK REST) ปัจจุบันนี้ไม่นิยมติดมากับด้ามเบ็ด ถ้าอยากจะเลือกคันเบ็ดที่มีชิ้นส่วนอันนี้ควรเลือกขนิด ห่วงเตี้ย และติดตั้งอยู่ในแนวเดียวกับไกด์(ใต้คันเบ็ด)  
จะเลือกชนิดขันลงมาจากตอนบนจะช่วยไม่ให้แหวนล็อค คลายตัวขณะเหวี่ยงเหยื่อ

ส่วนประกอบอื่นๆ 
ที่พักตัวเบ็ด(HOOK REST) ปัจจุบันนี้ไม่นิยมติดมากับด้ามเบ็ด ถ้าอยากจะเลือกคันเบ็ดที่มีชิ้นส่วนอันนี้ควรเลือกขนิด ห่วงเตี้ย และติดตั้งอยู่ในแนวเดียวกับไกด์(ใต้คันเบ็ด)  ไกด์ต่างชนิดกันจะมีราคาต่างกันไปด้วยโดยขึ้นอยู่กับวัสดุที่นำมาทำไกด์
      






ชนิดของรอก
รอกตกปลาแบ่งได้เป็น 3 ชนิด
1.    รอกสปินนิ่ง  ( Spinning Reel )
2.    รอกเบทคลาสติ้ง  ( Bait Casting Reel )
3.    รอกฟราย  ( Fly Casting Reel )
รอกสปินนิ่ง (Spinning)
แบ่งออกเป็นชนิดเบรคหน้าและรอกเบรคท้ายโดยมีส่วนสปูนบรรจุสายอยู่ด้านหน้ามีฝาปิดสปูนและเป็น Level drag ไปในตัวทำหน้าที่ปรับระดับความหนืดของสปูนส่วนรอกเบรคท้ายจะมีชุดเบรคอยู่ด้านท้ายและมี Level drag อยู่ด้านท้ายเช่นกันนอกจากนี้ส่วนมือหมุนของรอกสปินนิ่งยังสามารถเปลี่ยนสลับข้างได้ทั้งซ้ายขวาตามความถนัดของผู้ใช้
       -   
ข้อดีของรอกสปินนิ่ง  ใช้งานง่ายเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น มือหมุนสามารถปรับได้ทั้งซ้ายและขวา
       -   
ข้อเสียของรอกสปินนิ่ง  สายตีเกลียวง่ายเนื่องจากขณะตีสาย สายจะคลายตัวออกจากสปูนในขณะที่สปูนไม่หมุนตาม

รอกเบทคลาสติ้ง  ( Bait Casting Reel )
รอกเบทคาสติ้ง (Bait casting Reel)
จะประกอบด้วยสปูนและตัวเฟรมหลักวางในแนวขวางบนคันและสายจะโรยตัวตัวออกจากรอกโดยที่สปูนจะหมุนตามทำให้ส่งเหยื่อได้ไกลระบบเบรคจะเป็นแบบ Star drag อยู่ติดกับมือหมุนและในรอกเบทเราสามารถตั้งระบบเบรคในระดับที่เราต้องต้องการได้ล่วงหน้าเมื่อปลดระบบฟรีสปูนรอกก็จะเข้าสู่ระบบเบรคที่ตั้งไว้ทันทีแต่รอกเบทคาสติ้งไม่สามารถสลับมือหมุนได้แต่จะมีรอกรุ่นพิเศษสำหรับคนที่ถนัดซ้ายออกมา
       -   
ข้อดีของรอกเบทคาสติ้ง  สามารถเหวี่ยงเหยื่อได้ไกล มีระบบตั้งเบรคล่วงหน้าทำให้ไม่พะวงเรื่องการตั้งเบรค เมื่อปลาฉวยเหยื่อ
       -   
ข้อเสียของรอกเบทคาสติ้ง  ใช้งานค่อนข้างยากต้องอาศัยการฝึกฝน สายฟู่ และมือหมุนไม่สามารถเปลี่ยนสลับข้างได้



รอกฟราย (Fly casting Reel)

ใช้สำหรับตกปลาโดยการใช้เหยื่อเฉพาะของรอกฟรายซึ่งจะเลียนแบบลักษณะของแมลงโดยการเหวี่ยงสายออกไปแล้วทำการสบัดสายให้เหยื่อเคลื่อนไหวเลียนแบบแมลงที่ตกลงไปบนผิวน้ำอย่างไรก็ตามรอกชนิดนี้ไม่นิยมในบ้านเรา นอกจากรอดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้วยังมีรอกชนิดพิเศษที่ทำขึ้นสำหรับงานพิเศษ เช่นรอกขนาดใหญ่ที่ใช้ตกปลา ในทะเล หรือรอกกระปุก
       -   
ข้อดีของรอกฟราย  สามารถเลียนแบบลักษณะของแมลงที่ตกลงบนผิวน้ำได้
       -   
ข้อเสียของรอกฟราย  ใช้งานค่อนข้างยากต้องอาศัยการฝึกฝน เนื่องจากรอกฟรายต้องใช้กับคันฟรายให้เข้าชุดเท่านั้นและรอกฟรายไม่สามารตีเหยื่อแล้วให้สายไหลออกไปได้เอง