วันเสาร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2556

การเลือกรอก-คัน



ข้อมูลที่ใช้ในการประกอบการตัดสินใจซื้ออุปกรณ์คือ 
     1. เราเจตนาหรือตั้งใจที่จะตกปลาในแหล่งน้ำใด  จะเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติหรือตามบ่อตกปลา 
     2. เจตนาหรือตั้งใจจะตกปลาประเภทใด เพราะปลาแต่ละชนิดจะมีขนาดและความแข็งแรงไม่เท่ากัน เช่นอุปกรณ์สำหรับปลานิล ก็ย่อมต่างจากอุปกรณ์สำหรับปลาบึก  
     3. เรามีงบประมาณหรือเงินทุนเพื่อซื้ออุปกรณ์เท่าใด  
  

การเลือกซื้ออุปกรณ์สปินนิ่ง

การเลือกรอกสปินนิ่ง


หลอดเก็บสาย
ควรเลือกชนิดทำด้วยวัสดุแกรไฟต์ ถ้าต้องการน้ำหนักเบาและไม่เป็นสนิม แต่ถ้าชอบแบบอลูมินั่มควรเลือกชนิดเนื้อดีซึ่ง จะม ีความบางเบาและชุบสีต่างๆ ติดแน่าน อย่าเลือกชนิดพ่นสีและไม่ควรเลือกชนิดทำด้วยพลาสติกหรือชนิดขี้ตะกั่ว


ชิ้นส่วนบนหลอดเก็บสาย
ควรเลือกหลอดเก็บสายที่มีตัวยึดปลายสาย (Line Holder) ที่มีลักษณะแน่นหนา ติดตั้งซ่อนลงไปต่ำกว่าผิวหน้าของส่วน โค้ง

ตัวเลขบนหลอดเก็บสาย
ควรเลือกชนิดพิมพ์ติดกับเนื้อหลอดเก็บสายโดยตรงไม่ควรเลือกชนิดสติคเกอร์ปิดทับเพราะหลุดได้ง่าย

ระบบถอดหลอดเก็บสาย
ควรเลือกชนิดกดปุ่มครั้งเดียวถอดหลอดเก็บสายออกได้เลย แต่ปุ่มกดแบบนี้บางยี่ห้ออาจจะทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร จึงต้อง ระมัด ระวังในการเลือกด้วย

สัญญาณเตือน
สัญญาณเตือนเมื่อปลาติดเบ็ดถ้าติดตั้งอยู่ด้านในของหลอดเก็บสาย ควรเลือกชนิดชิ้นส่วนโลหะจะให้เสียงกว่าและไม่ แตกหักง่าย เหมือนแบบพลาสติก แต่สัญญาณเตือนดังกล่าวสำหรับรอกรุ่นใหม่ๆจะติดตั้งอยู่ภายใน ซึ่งทำได้ไม่ดีเท่ากับชนิดติดอยู่กับตัว หลอดเก็บสาย

ระบบเบรคหน้า
ควรเลือกชนิดหมุนปุ่มปรับฝืดหน่อยจะดีกว่า เพราะไม่คลายตัวง่าย หรือบางรุ่นจะมีสปริงคอยดีดไม่ให้ปุ่มปรับหลวม ขณะใช้ งาน ถ้าเลือกคู่กับระบบกดปุ่มครั้งเดียวถอดหลอดเก็บสายออกมาได้จะดีกว่าระบบคลายเกลียวถอดหลอดเก็บสายเบรคหน้าม ีแผ่นเบรค 2 แบบคือ ชนิดแผ่นเดียว (Disk Drag) ซึ่งรอกชิมาโนกับมิทเชลล์ใช้อยู่บ้างเป็นบางรุ่น และรอก เพนน์ รุ่นเล็ก เบรค แผ่นเดียวจะได้ผลดีกว่า เพราะเนื้อที่เบรคมีมากแต่ไม่ค่อยมีผู้นิยม อีกแบบหนึ่งเป็นชนิดหลายแผ่น (Multi Disk Drag) ควร เลือกชนิดแผ่นเบรคใหญ่และแผ่นเบรคมีมากแผ่น (ดูจากสมุดคู่มือของรอกแต่ละรุ่น)

ระบบเบรคท้าย
ควรเลือกชนิดหมุนได้มากกว่า 2 รอบและเป็นชนิดมีตัวเลขกำกับซึ่งจะสังเกตง่ายกว่าแบบเครื่องหมายบวก หรือลบเลือก ชนิด แผ่นเบรคมากแผ่นและมีขนาดใหญ่และควรเป็นชนิดปรับแต่งระยะเบรคได้จะดีกว่าแบบปรับไม่ได้

ระบบเบรคช่วย
ระบบนี้ยังมีใช้อยู่เพียงบางยี่ห้อ เช่นรอกชิมาโน รุ่นล่าสุดใช้ระบบเบรคช่วยซ้อนกันอยู่กับเบรคท้ายตัวเดิม เรียกว่า ไฟทิ้ง แดรก (Fightin Drag) ส่วนทางรอกมิทเชลล์ใช้ระบบเบรคช่วยด้วยการเหนี่ยวกระเดื่องหรือไกภายนอกให้ไปบังคับเบรค ภายใน เรียกว่าระบบทริคเกอร์ แดรก (Tigger Drag) ซึ่งบางยี่ห้อไดว่าเคยทำมาแล้วแต่เป็นการทำเบรคช่วยที่ตัวหลอด เก็บสายโดยตรง และยังมีระบบล็อคเบรค เมื่อต้องการตวัดปลา ของรอกไดว่ารุ่นใหญ่บางรุ่นแต่ไม่ได้เป็นการช่วยเบรค แต่อย่างใด

ระบบล็อคแขนกว้านสาย
ควรเลือกชนิดผลักเปิดและปิดได้ทั้งอัตโนมัติหรือโดยการใช้มือผลักปิด ควรเลือกระบบปลดล็อกแขนกว่านภายในดีกว่า ระบบ กระทบภายนอก ระวังระบบปลดล็อกแขนกว้านของรอกทางยุโรปบางยี่ห้อ จะปิดกลับด้วยมือไม่ได้เลยต้องปิด กลับด้วยการปลด ล็อคภายในเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ระบบปลดล๊อคแบบนี้จะช่วยป้องกันแขนกว้านดีดกลับมาปิดหน้า รอก เมื่อกำลังเหวี่ยงเหยื่อ อันเป็นเหตุให้สายเบ็ดขาดได้จากแรงกระตุกของเหยื่อ แขนกว้านสายควรเลือกชนิดเป็น สแตนเลส และมีวงสปริงช่วยดีดแขน กว้านที่โคนแขนกว้านทั้ง 2 ด้าน รอกราคาถูกจะมีสปริงดีดเพียงข้างเดียว

ลูกล้อให้สายผ่าน
ลูกล้อตัวนี้เรียกว่า ไลน์ รอลเลอร์(Line Roller) ติดตั้งอยู่ที่ชุดแขนกว้าน สายเป็นตัวรองรับให้สายผ่านเข้าออก ควรเลือก ชนิดทำ ด้วยเซรามิก หรืออะลูมินั่มออกไซด์ วงของลูกล้อควรเลือกขนาดใหญ่และหมุนได้คล่อง มีแหวนปิดหัวท้ายของ ลูกล้อ ไม่ให้เกิด ร่องกว้างจนสายตกลงไปในร่องได้

ระบบพิเศษเกี่ยวกับแขนกว้าน
รอกบางยี่ห้อจะมีระบบกลไกพิเศษที่จะพับแขนกว้านให้แนบไปกับตัวรอกได้ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการเก็บเพราะไม่กิน เนื้อที่ เช่น รอกเชคสเปียร์ หรือ มิทเชลล์ นอกจากนี้ก็มีระบบปลดล็อคแขนกว้านภายนอกโดยติดตั้งอยู่ที่ฐานด้านหนึ่งของ แขนกว้าน สายมีอยู่ในรอกมิทเชลล์

ระบบมือหมุน
ควรเลือกชนิดที่เปลี่ยนแขนมือหมุนไปอยู่ทางซ้ายและขวาด้วยการคลายเกลียวในตัวเอง ไม่ใช่แบบต้องมีสกรูขันต่าง หาก การ พับแขนกว้านควรเลือกชนิดคลายเกลียวออกมาครึ่งหนึ่งหรือขันสกรูจากด้านตรงข้ามจะดีกว่าระบบกดพับหรือมี สปริงดีดออกมา ในระบบวันทัช (ONE TOUCH) มือจับควรเลือกชนิดเป็นท่อนกลมจะจับกระชับมือกว่า

ระบบรองรับแกนพลา
ระบบรองรับแกนเพลาควรเลือกชนิดตลับลูกปืน ถ้าเลือกได้ควรเลือกชนิดตลับลูกปืน 3 ชุดหรือมากกว่านั้น รองลงไปเป็น 2 ชุด และ 1 ชุดตามลำดับ หากจะเลือกระบบรองรับแกนเพลาแบบปลอก (BUSHING) ก็ควรเลือกชนิดทำด้วยวัสดุจำ พวกแกรไฟต ์หรือเทฟล่อน(TAFLON) รอกราคาถูกจะไม่มีปลอกรองรับแกนเพลาเลย

เฟืองทดและเฟืองขับ
เฟืองทั้งคู่นี้ถ้าเป็นไปได้ควรเลือกชนิดที่ทำด้วยทองเหลือง แต่รอกส่วนมากตัวเฟืองขับ(MAIN GEAR) จะทำด้วย อะลูมินั่ม ส่วนเฟืองทด (PANION GEAR ) นั้นจึงจะทำด้วยทองเหลือง แต่จะว่าไปแล้วรอกรุ่นเก่าๆ นั้นระบบกลไก ภายในดีกว่ารอก รุ่นใหม่ๆ เสียอีก เพราะเลือกใช้วัสดุชนิดดีมาผลิต

ระบบพิเศษอื่นๆ
รอกบางยี่ห้อจะมีระบบช่วยงานบางอย่างเพิ่มมากับตัวรอก เช่น ระบบปิดเสียงสัญญาณขณะรอกทำงาน ซึ่งล็อคด้วยกล ไกชิ้น เล็กๆ อันจะเป็นตัวทำให้เกิดเสียงดังคลิ๊กๆ ตลอดเวลา เขาจึงออกแบบกลไกอีกตัวหนึ่งมาปิดเสียงคลิ๊กๆ นี้เสียแต่ รอกรุ่นใหม่ จะปิดเสียงดังกล่าวโดยเด็ดขาด ซึ่งไม่ต้องอาศัยกลไกตัวอื่นมาปิดเสียง ระบบปรับให้แขนกว้านหมุนด้านที่ มีลูกล้อเปลี่ยนสาย ให้มาอยู่ด้านบนตลอดเวลา เรียกว่าระบบ SELF CENTERING  จุดประสงค์เพื่อให้พอดีกับนิ้วชี้ของ เราที่จะยื่นลงไปเกี่ยว สาย เบ็ดได้พอดีทุกครั้ง ระบบช่วยพิเศษที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบันนี้ ก็เห็นจะได้แก่ ระบบออโต้คาสท์ (AUTO CAST) ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยลดขั้นตอนในการเลื่อนมือไปดึงสายเบ็ดขึ้นเกี่ยวด้วยนิ้วชี้ ระบบนี้ เรียกกันหลายแบบแล้วแต่ยี่ห้อ เช่น ออโต้ คาสท์ (AUTO CAST) ฟาสท์ คาสท์ (FAST CAST) ควิกคาสท์ (QUICK CAST) เป็นต้น

การเลือกคันสปินนิ่ง 


วัสดุที่ใช้ทำคันเบ็ด(ไฟเบอร์กลาส)
วัสดุที่ใช้ทำคันเบ็ดจะเป็นตัวกำหนดราคาของคันเบ็ดดโดยตรงถ้ามีงบหรือเงินทุนในการซื้อค่อนข้างจำกัดก็จำเป็นจะต้อง เลือก วัสดุจำพวกไฟเบอร์กลาส ซึ่งมีผู้นำมาผลิตคันเบ็ดกันทุกยี่ห้อ ถ้าต้องการเลือกใช้คันเบ็ดที่มีน้ำหนักเบาและมีแอค ชั่นให้เลือก หลายขนาด ก็ควรเลือกคันไฟเบอร์กลาสชนิดท่อกลวง(HOLLOW GLASS) แต่จะมีราคาแพงกว่าไฟเบอร์ กลาสชนิด ท่อตัน (SOLID GLASS) ซึ่งชนิดท่อนตันนี้จะมีน้ำหนักมากแต่แข็งแรงทนทาน ปัจจุบันคันท่อนตันไม่ค่อยมี ผู้นิยมกันเท่าใดนัก

วัสดุที่ใช้ทำคันเบ็ด(แกรไฟต์)
เป็นวัสดุที่มีราคาสูงกว่าไฟเบอร์กลาสประมาณ 2 - 3 เท่าขึ้นอยู่กับปริมาณของเนื้อแกรไฟต์จะมีผสมอยู่มากน้อยเท่า ใด ถ้าเป็น ไปได้เมื่อจะเลือกคันเบ็ดประเภททำด้วยแกรไฟต์ ควรเลือกชนิดเนื้อแท้ถึงมีแกรไฟต์ 90 - 100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งดูได้ง่ายจากราคา ที่ผิดกับจำพวกแกรไฟต์เนื้อผสม 2 - 3 เท่าเช่นกัน คันเบ็ดแกรไฟต์ชนิดเนื้อผสมหรือ คอมดพซิท แกรไฟต์ (COMPOSITE GRAPHITE) จะมีคุณค่าต่ำกว่าคันเบ็ดไฟเบอร์กลาสเสียอีก ซึ่งผู้ผลิตจะใช้ชื่อแกรไฟต์มา เป็นตัวอ้างเท่านั้นโดยใช้ชื่อแปลกเช่น COMP GRAPHITE บ้าง ADVANCE GRAPHITE บ้าง เพราะบางครั้งแกร ไฟต์เนื้อผสมจะมีค่า GRT (GRAPHITE RATING TEST) เท่ากับ 2 ก็มีคือ มีเนื้อแกรไฟต์อยู่น้อยมากแต่บางรุ่นร้าย ยิ่งไปกว่าคือมีค่า GRT เท่ากับ 0 ก็คือไม่เนื้อแกรไฟต์ผสมอยู่เลยแม้แต่น้อย

วัสดุที่ใช้ทำคันเบ็ด(โบรอน)
คันเบ็ดที่มีเนื้อทำด้วยวัสดุโบรอนจะมีราคาสูงกว่าคันเบ็ดประเภทแกรไฟต์ขึ้นไปอีก 1 ขึ้น คันเบ็ดโบรอนก็เช่นกันเมื่อ จะเลือกซื้อ ควรเลือกจากยี่ห้อที่เชื่อถือได้ว่าเป็นผู้ผลิตคันเบ็ดรายใหญ่ๆ ที่มีชื่อเสียงจะได้ไม่ผิดหวัง

วัสดุที่ใช้ทำคันเบ็ด(ไม้ไผ่)
คันเบ็ดประเภทที่ทำด้วยไม้ไผ่ที่มีอยู่ในปัจจุบันก็คงมีเฉพาะคันฟลายเท่านั้น ในสภาพภูมิอากาศแบบบ้านเราไม่อำนวย ให้ใช้คัน ไผ่ได้ดีเท่าไรนัก เพราะความชื้น ความร้อน และแมลงจำพวกตัวมอด อีกทั้งราคาที่แพงเกือบเท่าวัสดุจำพวก แกรไฟต์หรือโบรอน

จำนวนท่อนคันเบ็ด
ถ้าเป็นไปได้ควรเลือกคันเบ็ดชนิดท่อนเดียว เพื่อความรู้สึกในการใช้งานและความแข็งแรงของตัวคันเบ็ด แต่ก็จะไป ลำบากตรง ที่เกะกะ ดังนั้นคันเบ็ดชนิด 2 ท่อน จึงเหมาะที่สุด ไม่ควรเลือกคันเบ็ดที่มีจำนวนท่อนมาก หรือคันเบ็ดประเภทเสาอากาศ (TELESCOPIC) นอกจากจะคิดนำติดตัวไปได้ง่านหน่อย

ประเภทรอยต่อ
ควรเลือกการต่อระหว่างท่อนด้วยการสวมลงมาดีกว่าการสอดขึ้นไป และควรเลือกข้อต่อแบบเนื้อเดิมดีกว่าข้อต่อ โลหะ

ไกด์
คันเบ็ดที่มีไกด์ต่างชนิดกันจะมีราคาต่างกันไปด้วยโดยขึ้นอยู่กับวัสดุที่นำมาทำไกด์

ไกด์ทองเหลืองชุบ
ไกด์ชนิดนี้มักประกอบอยู่กับรอกราคาถูกมีโอกาสที่โลหะซึ่งชุบอยู่ (โครเมียม) เป็นสนิมและร่อนหลุดได้

ไกด์สแตนเลส
นิยมใช้กันอยู่ทางด้านยุโรป มีราคาถูกเช่นกัน ปัจจุบันไม่นิยมใช้กันแล้ว

ไกด์เซรามิค
ไกด์ชนิดนี้เป็นกระเบื้องเคลือบสีขาวอยู่ภายใน ภายนอกยังคงเป็นโลหะทองเหลืองชุบหุ้มอยู่ ไกด์ชนิดราคาถูกเช่นกัน ใชั กันอย่างแพร่หลายมากในกลุ่มของคันเบ็ดราคาถูกและราคาปานกลาง

ไกด์อะลูมินั่มออกไซด์
วัสดุชนิดนี้เป็นการพัฒนามาอีกขั้นหนึ่ง มีเนื้อแน่นและแกร่งเหมือนกับเนื้อพลอย ทนการเสียดสีได้ดีกว่าวัสดุจำพวก เซรามิค แต่มีราคาแพงกว่าเซรามิค 2 - 3 เท่า ใช้กับคันเบ็ดที่มีราคาปานกลางถึงราคาสูง เนื้อเป็นสีเขียวทึบ โครงสร้าง ภายนอกเป็นทอง เหลืองนิยมชุบสีดำหรือสีทึบ โดยมีแหวนรองระหว่างเนื้ออะลูมินั่มออกไซด์กับตัวโครงสร้างเป็นพลา สติกหลายๆ สี เช่นขาว เหลือง แดง เป็นต้น

ไกด์ซิลิคอนคาร์ไบด์
เป็นวัสดุชิ้นล่าสุดที่นำมาทำเป็นวงแหวนด้านในของไกด์ มีเนื้อสีเกือบดำและเหลือบคล้ายปีกแมลงทับ เนื้อแกร่งและผิว นอกราบ เรียบยิ่งกว่าอะลูมินั่มออกไซด์และมีราคาแพงกว่าเท่าตัว ส่วนมากจะประกอบกับคันเบ็ดราคาแพงเท่านั้น โครงสร้างภายนอก เหมือนกับไกด์ชนิดอะลูมินั่มออกไซด์ทุกประการ แต่การเคลือบจะนิยมเคลือบสีเทาด้านๆ

จำนวนตัวไกด์และขนาด
คันเบ็ดสปินนิ่งแม้ว่าจะไม่มีปัญหาเรื่องจำนวนตัวไกด์เท่าใดนักแต่ก็ควรเลือกชนิดมีตัวไกด์เท่าใดนักแต่ก็ควรเลือกชนิด มีตัวไกด ์ไม่น้อยกว่า 5 ตัว (ไม่นับตัวปลาย)ส่วนขนาดของไกด์นั้นตัวท้ายสุดควรมีขนาดตามความยาวของคันเบ็ด

มือจับและด้าม
เน้นที่ตัววัสดุซึ่งนำมาผลิต ในบ้านเรานั้นวัสดุที่เหมาะสมก็ควรเลือกยางนีโอพรีน เพราะทนทานกว่าไม้ก๊อกอยู่บ้างแต่ ทั้งนี้ต้อง ขึ้นอยู่กับยี่ห้อคันเบ็ดด้วย เพราะทางด้านอเมริกาหรือยุโรปนั้นคันเบ็ดราคาแพงนิยมใช้ไม้ก๊อกทำมือจับและ ด้ามมากกว่ายางนีโอพรีน

ตัวยึดฐานรอก
ปัจจุบันตัวยึดฐานรอกได้ปรับปรุงให้ดีขึ้นมาก ถ้าเป็นไปได้ควรเลือกชนิดโครงสร้าง แกรไฟต์ตัวโลหะยึดขารอกเป็น สแตนเลส เท่าที่มีอยู่ในปัจจุบันคือยี่ห้อฟูจ(FUJI)ิและ เฟนวิค(FENWICK) แต่ถ้าต้องเลือกชนิดโลหะทองเหลืองชุบ หรืออะลูมิเนียมชุบสี ควรเลือกแบบมีวงแหวนล็อค 2 วง และเลือกชนิดขันลงมาจากตอนบนจะช่วยไม่ให้แหวนล็อค คลายตัวขณะเหวี่ยงเหยื่อ

ส่วนประกอบอื่นๆ
ที่พักตัวเบ็ด(HOOK REST) ปัจจุบันนี้ไม่นิยมติดมากับด้ามเบ็ด ถ้าอยากจะเลือกคันเบ็ดที่มีชิ้นส่วนอันนี้ควรเลือกขนิด ห่วงเตี้ย และติดตั้งอยู่ในแนวเดียวกับไกด์(ใต้คันเบ็ด)  
จะเลือกชนิดขันลงมาจากตอนบนจะช่วยไม่ให้แหวนล็อค คลายตัวขณะเหวี่ยงเหยื่อ

ส่วนประกอบอื่นๆ 
ที่พักตัวเบ็ด(HOOK REST) ปัจจุบันนี้ไม่นิยมติดมากับด้ามเบ็ด ถ้าอยากจะเลือกคันเบ็ดที่มีชิ้นส่วนอันนี้ควรเลือกขนิด ห่วงเตี้ย และติดตั้งอยู่ในแนวเดียวกับไกด์(ใต้คันเบ็ด)  ไกด์ต่างชนิดกันจะมีราคาต่างกันไปด้วยโดยขึ้นอยู่กับวัสดุที่นำมาทำไกด์
      





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น