วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556

การรักษาอุปกรณ์


การรักษาอุปกรณ์
นับว่ามีความสำคัญที่สุดสำหรับนักตกปลา ที่ควรศึกษาและใส่ใจกับอุปกรณ์ที่ท่านรัก เพราะเท่าที่รับซ่อมอุปกรณ์เหล่านี้ ส่วนใหญ่จะ
เสียหายจากการ ขาดการบำรุงรักษา เมื่อนำไปใช้งานแล้ว เย่อปลา อัดปลา จะส่งผลให้ อุปกรณ์เสียหายทันที ซึ่งเหตุการณ์บางเหตุการณ์อาจต้องสูญเสีย
อุปกรณ์ที่ท่านรัก หมดทางเยียวยาไปทันที แต่ผู้เขียนเองมีประสบการณ์เกี่ยวกับรอกแบบ สปินนิ่ง ตัวขนาดเล็ก และขนาดกลาง เท่านั้น สำหรับรอก เบท
และรอกตัวใหญ่ ๆ ยังขากประสบการณ์ จึงไม่ได้นำมาอ้างในที่นี้

ใช้แล้วทิ้ง จับอีกทีเมื่อจะออกทริฟ
ลักษณะนี้ คือเมื่อกลับจากการตกปลาแล้ว ก็เก็บอุปกรณ์ทันที ไม่ได้ทำความสะอาด รอก และคันเลย ผลหรือครับ
1. มีคราบเหยื่อติดเป็นแห่ง ๆ เป็นเหยื่อล่อ มด แมลงสาบ ไป็นอย่างดี แล้ว อุปกรณ์นั้นก็เก่าและทรุดโทรมในที่สุด
2. รอกมีเศษทรายเล็ก ๆ หลุดเข้าไปในผ้าเบรค ผลคือประสิทธิภาพต่าง ๆ ลดลง แล้วท่านก็ไปโทษว่า อุปกรณ์ยี่ห้อนั้น ยี่ห้อนี้ไม่ดี
    ซึ่งรอกตกปลา บางยี่ห้อ คุณภาพและราคา พอ ๆ กัน แต่การบำรุงรักษาต่างกัน เช่น BG ของ ไดว่า เทียบกับ SHIMANO ultregra คุณภาพ พอกัน
    แต่ SHIMANO  ต้องการการบำรุงรักษามากกว่า ต้องทะนุถนอมพอสมควร จึงเป็นรอกผู้ดี แต่ รอก BG ของไดว่า ไม่จำเป็นบำรุงรักษามากนัก
   จึงเป็นประเภท บึกบึน ดุดัน มากก‡่า

การบำรุงรักษารอก
ผมจะเปรียบการรักษา BG ของไดว่าดังนี้
1. ต้องหมั่นตรวจวงแหวนทองแดงครึ่งวงกลม ที่ล็อค สปูน บ่อยครั้ง ท่านจะไม่ประสบปัญหา สปูนตกน้ำ 
 2. ล้างเบรคในเวลาอันควร  ขึ้นอยู่กับท่านออกทริฟ บ่อยขนาดไหน หรือเมื่อท่านตกปลาท่ามกลางสายฝน ต้องรีบล้างทันทีเมื่อกลับถึงบ้าน

และสำหรับ บูชพลาสติก บริเวณแขนของมือหมุน ถ้าผู้ผลิต เปลี่ยนเป็นโลหะ จะเป็นการดี เพราะจะแตกทุกตัวเมื่อใช้งาน คือเกลียวมันจะอัดเข้าเอง   โดยอัตโนมัติ เมื่อท่านเย่อปลา
ก็เท่านี้แหละครับ สำหรับรอก BG ที่เค้าว่า ใครฆ่าไม่ตาย

สำหรับ SHIMANO ULTREGRA มีการบำรุงรักษาดังนี้
1. ต้องตรวจสกรูทุกตัวเมื่อจะออกทริฟ เพราะเคยเจอ สกรูคายตัวเองโดยไม่ทราบสาเหตุ
2. ล้างเบรคบ่อยครั้ง
3 .ตรวจมือหมุนทุกครั้งที่ออกทริฟ อาจหลุดตกน้ำ

เห็นไหมครับว่า shimano ต้องรักษามากกว่า แต่การใช้งาน จะคล่องตัวมากกว่า เบากว่า และให้ความรู้สึกนุ่มนวลมาก
นี่เป็นเพียงการยกตัวอย่างให้เห็นว่า รอกแต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อ การบำรุงรักษาแตกกต่างกัน แต่ ยังไงก็ต้องหมั่นตรวจ ล้างเหมือนกัน

ผมจะแนะนำการบำรุงรักษารอกแบบมือสมัครเล่นให้นะครับ
1. ล้างรอกทันที่เมื่อหมดททิฟ (ล้างภายนอกนะครับ)
2. คายเบรคออกทุกครั้งที่จะเก็บรอก
3.ตรวจดูโรลเล่อร์ว่าหมุนเป็นปกติไหม
4. เลือกใช้สายเอ็น ให้พอดีกับ สเปค ของรอกนั้น ๆ หลีกเลี่ยงสายโหลด และสายที่มีขนาดปอนด์สูงเกินไป

แค่นี้เองครับ ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก หากทำได้รับรอง รอกของท่านจะไม่เสียหายก่อนเวลาอันควร

คันเบ็ด
รักษาโดยล้าง ทั้งคันเมื่อเลิกใช้งาน และตรวจดูทิฟท็อป ว่าเป็นร่องหรือไม่ หากเป็นร่อง ให้เปลี่ยนทันที วิธีเปลี่ยนก็ให้ไฟแช็ค ลนที่
ปลายไกด์ ให้ร้อน แล้วดึงออก ตรง ๆ (อย่าบิด เด็ดขาด) แล้วเอาตัวใหม่ใส่โดยใช้กาวตราช้าง อย่าลืมเล็งให้ตรงก่อนนะ

สายเอ็น
1.ตรวจดูสายเอ็นช่วงปลาย ประมาณ 3-5 เมตร หากพบว่า มีรอย ให้ตัดทิ้ง ทันที  อย่าเสียดาย ไม่งั้นท่านเสียใจมากกว่าเมื่อเย่อปลาแล้ว ขาด
2. หากทำได้ โดยการคายสายเอ็นออกจากสปูนทุกครั้งที่เลิกใช้งานจะเป็นการดีมาก (แต่ยากที่จะมีใครทำ ฮ่า ๆ )
3. ใช้ผ้าชุบน้ำ เช็ดสายเอ็นทันทีเมื่อท่านตกปลาในแหล่งน้ำที่มีคราบ สกปรกมาก ๆ

รอกที่ควรรู้การรักษาเพื่อให้ใช้งานได้นาน และดี
1. ตระกูล BG ไดว่า ต้องหมั่นตรวจวงแหวนทองแดงครึ่งวงกลม ที่ล็อค สปูน บ่อยครั้ง ท่านจะไม่ประสบปัญหา สปูนตกน้ำ 
2. ตระกูล SHIMANO ต้องหมั่นตรวจสกรูทุกตัว
3. ตระกูล TICA  (LH, GH) หมั่นถอดล้าง เพราะอาจเกิดอาการไม่ล็อคการตีกลับ และต้องใช้จารบีทาที่แผ่นเบรทันทีที่ซื้อมา จะป้องกันเบรคสะดุ
4. ตระกูล BANDO BANAX (BG) หมั่นตรวจโรลเล่อร์ อาจไม่หมุนทำให้สายบาด เป็นรอย

สำหรับยี่ห้ออื่น ๆ  ก็พยายามหมั่นตรวจดู เพราะทางผู้เขียนคงเขียนให้ได้ไม่หมดครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น